ชื่อไทย : ลำดวน
ชื่อท้องถิ่น : หอมนวล(เหนือ)
ชื่อสามัญ : White cheesewood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melodorum fruticosum Lour.
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :
เป็นไม้ต้น สูง 8 ม. เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาล เมื่อต้นแก่จะแตกเป็นร่องละเอียดตื้นๆ ตามยาวของลำต้น
ใบ :
เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปรียาว กว้าง 2-3 ซม. ยาว 7-15 ซม. โคนใบแหลม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ด้านล่างสีเขียวนวล ยอดอ่อนและใบอ่อนสีแดง
ดอก :
ดอกสีเหลือง ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบและปลายยอด กลีบดอก 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง วงนอกมี 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยมขนาดใหญ่กว่ากลีบดอกวงใน มี 3 กลีบเหมือนกัน กลีบดอกหนาและแข็ง มีกลิ่นหอม 
ผล :
เป็นผลกลุ่ม ผลย่อยรูปกลมรีมี 15-20 ผล ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวพอสุกเป็นสีแดง  เมล็ด มีหลายเมล็ดต่อ 1 ผลย่อย
ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : ธันวาคม สิ้นสุดระยะติดดอก : กุมภาพันธ์
เริ่มติดผล : มิถุนายน สิ้นสุดระยะติดผล : สิงหาคม

สภาพทางนิเวศวิทยา :

นิเวศวิทยา ป่าดิบแล้งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ถิ่นกำเนิด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์ พบในประเทศคาบสมุทรอินโดจีน คาบสมุทรมลายู

การใช้งานด้านภูมิทัศน์ ดอกหอมเป็นพุ่มใบสวยงาม นิยมใช้จัดสวนแต่ควรปลูกระหว่างไม้ต้นอื่นๆ เพราะต้องการความชุ่มชื้นจึงจะเติบโตได้อย่างแข็งแรง

การปลูกและการขยายพันธุ์ :

ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง

โดยการเพาะเมล็ด

รายละเอียดการใช้ประโยชน์ :

- ดอกแห้ง เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต แก้ลม จัดอยู่ในจำพวกเกสรทั้งเก้า [1]

- ปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้ให้ร่ม ดอกสวยงาม มีกลิ่นหอม

- เกสร มีสรรพคุณบำรุงกำลัง และบำรุงหัวใจ นำมาประกอบกับสมุนไพรจีน [3]

- ผลมีรสหวานรับประทานได้ ดอกแก้ไข้ แก้ลมวิงเวียน บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต [4]

แหล่งอ้างอิง : [1] คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [2] ปิยะ เฉลิมกลิ่น. 2544. พรรณไม้วงศ์กระดังงา. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร. [3] มูลนิธิสวนหลวง ร. ๙. 2547. ไม้นามตามถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [4] เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [5] ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัด http://www.panmai.com/ 23082553
ประเภทของการใช้ประโยชน์ :
พืชล่อแมลง
ไม้ยืนต้น
พืชสมุนไพร
ที่อยู่ :
หมายเหตุ :

                  ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ

  ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

  ลำดวนแดงมีลักษณะทุกอย่างเหมือนลำดวน แต่มีกลีบดอกสีแดง

รูปพรรณไม้ :
   
Copyright © 2011 Royalpark Rajapruek All rights reserved.
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร 053-114110-5 แฟกซ์ 053-114196 E-Mail : [email protected]
เริ่มใช้งานระบบเมื่อ 1 มิถุนายน 2554